ชื่อหน่วย บทที่ 3,4,5,6,7,8,9,10 และ 11 สัปดาห์ที่ 18
ชื่อเรื่อง
สอบปลายภาค จำนวน 4 ชั่วโมง
ครูผู้สอน ณัฐพร หอมเมือง ระดับชั้น ปวส.2
สาระสำคัญ
การเขียนโปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์นั้นผู้เขียนโปรแกรมต้องทราบหลักการและรูปแบบของการเขียนโปรแกรมภาษานั้นๆ
ภาษาซีก็เช่นเดียวกันรูปแบบของภาษานี้ประกอบด้วย 5 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่เป็นพรีโปรเซสเซอร์ไดเรกทีฟ ส่วนกำหนดค่า
ส่วนฟังก์ชั่นหลัก การสร้างฟังก์ชั่น และส่วนอธิบายโปรแกรม
โดยผู้เขียนโปรแกรมจะต้องทราบว่าแต่ละส่วนนั้นมีรูปแบบการเขียนอย่างไร การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้นจะต้องมีการประมวลผลกับข้อมูล
โดยข้อมูลจะถูกเก็บอยู่ในหน่วยความจำของคอมพิวเตอร์ในรูปแบบของตัวแปร การประกาศตัวแปรต่างๆจะใช้หน่วยความจำไม่เท่ากัน และมีช่วงการเก็บข้อมูลไม่เท่ากัน
ผู้เขียนโปรแกรมจะต้องทราบว่าข้อมูลที่ต้องการประมวลผลนั้นเป็นข้อมูลประเภทใด
และในการประมวลผลจะต้องมีการกระทำกับตัวแปรต่างๆตัวที่นำมากระทำเรียกว่าตัวดำเนินการ ในการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์บางครั้งจะต้องมีการให้โปรแกรมมีทางเลือกเพื่อที่จะทำงานอย่างใดอย่างหนึ่ง
โดยถ้าเงื่อนไขเป็นจริงจะทำ ถ้าเงื่อนไขเป็นเท็จจะไม่ทำ
ในการเขียนโปรแกรมทุกภาษาจะมีคำสั่งให้โปรแกรมตัดสินใจก่อนทำเงื่อนไข
สำหรับภาษาซีมีคำสั่งที่ใช้ในการเลือกทำอยู่หลายคำสั่งคอมพิวเตอร์มีความสามารถในการทำงานซ้ำๆได้เป็นอย่างดี การทำซ้ำจะเรียกว่าลูป
ซึ่งมีอยู่หลายประเภท
โดยการทำลูปนั้นจะต้องมีการตรวจสอบเงื่อนไขด้วยว่าจะทำซ้ำกี่ตอน เมื่อใดต้องการให้หยุดทำซ้ำ
ในภาษาซีมีคำสั่งอยู่ 3 ประเภท
ซึ่งจะต้องทำความเข้าใจการใช้งานคำสั่งแต่ละคำสั่งก่อนจึงสมารถเลือกนำมาใช้งานได้การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้นสามารถสร้างคำใหม่ๆขึ้นมาได้ และสามารถเรียกใช้ได้เมื่อต้องการ
โดยคำใหม่ที่สร้างขึ้นประกอบด้วยฟังก์ชั่นต่างๆรวมกันอยู่ ถ้าหากคำใหม่ที่สร้างขึ้นนี้ไม่มีการคืนค่าออกมา
การทำงานจะทำงานเป็นโปรแกรมย่อย
ถ้ามีการคืนค่ากลับออกมาจะทำงานเป็นฟังก์ชัน
ถ้าหากผู้เขียนโปรแกรมทำความเข้าใจวิธีสร้างคำใหม่หรือการสร้างฟังก์ชันนี้จะทำให้โปรแกรมทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ตัวแปรประเภทหนึ่งที่ใช้ชื่อตัวแปรชื่อเดียวแต่สามารถเก็บข้อมูลเป็นกลุ่มได้เรียกว่าตัวแปรแบบอาร์เรย์
ถ้าหากประกาศตัวแปรประเภทนี้ขึ้นมาผู้ใช้สามารถเก็บข้อมูลหลายๆค่าติดๆกันไปและสามารถเรียกข้อมูลแต่ละค่าขึ้นมาได้ ตัวแปรแบบอาร์เรย์นี้มีทั้งแบบ 1 มิติ และหลายมิติ
สำหรับตัวแปรสตริงก็คือตัวแปรที่นำตัวอักขระมาต่อกันเป็นอาร์เรย์ประเภทหนึ่ง ในการประกาศตัวแปรสำหรับเก็บข้อมูล
ตัวแปรแต่ละตัวจะมีพื้นที่หน่วยความจำประจำตัวอยู่
ซึ่งสามารถเข้าถึงได้โดยตรงด้วยดารใช้ตัวแปรแบบพอยน์เตอร์ชี้ไปที่ตำแน่งหน่วยความจำนั้นการใช้พอยน์เตอร์จะใช้กับการเขียนอ่านข้อมูลเป็นจำนวนมาก
อาร์เรย์ขนาดใหญ่ หรือการทำงานกับไฟล์
ซึ่งจะมีความรวดเร็วในการเข้าถึงข้อมูลที่อยู่ติดๆกันได้รวดเร็วกว่าการใช้ตัวแปร
และการใช้ตัวแปรพอยต์เตอร์โดยส่วนใหญ่จะใช้กับไฟล์ ในงานประเภทจะต้องนำผลการทำงานของโปรแกรมเก็บลงในหน่วยความจำสำรองลักษณะของข้อมูลที่เก็บในหน่วยความจำสำรองนี้จะเก็บเป็นไฟล์
ซึ่งไฟล์ในภาษาซีมีอยู่หลายประเภทแต่ละประเภทมีคำสั่งในการอ่านเขียนไฟล์ต่างกัน
ดังนั้นถ้าหากต้องการเขียนข้อมูลเป็นไฟล์จะต้องทำความเข้าใจฟังก์ชันที่กระทำกับไฟล์ด้วย
สมรรถนะประจำหน่วยการเรียนรู้
แสดงความรู้เกี่ยวกับคำสั่งเลือกทำแบบทางเดียว (if) คำสั่งเลือกทำอย่างใดอย่างหนึ่ง
(if/else) การเลือกทำแบบ switch การวนซ้ำด้วยคำสั่ง for ลูป while ลูป do/while คำสั่ง break
และ continue
การสร้างฟังก์ชัน โปรโตไทป์(Prototypes) ตัวแปรทั่วไปและตัวแปรเฉพาะที่ ฟังก์ชันประเภทต่างๆ ฟังก์ชันมาตรฐาน ข้อมูลชนิดอาร์เรย์
ตัวแปรอาร์เรย์ 1 มิติ
ตัวแปรอาร์เรย์ 2 มิติ ข้อมูลชนิดสตริง การประกาศตัวแปรพอยน์เตอร์ การกำหนดค่าให้พอยน์เตอร์ พอยน์เตอร์กับอาร์เรย์ ประเภทของไฟล์
พื้นฐานการทำงานกับไฟล์
การอ่านและการเขียนเท็กซ์ไฟล์ การอ่านและการเขียนไบนารีไฟล์ การเข้าถึงข้อมูลแบบสุ่ม
จุดประสงค์การเรียนรู้
จุดประสงค์ทั่วไป
-
จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
นักเรียนสามารถทำข้อสอบที่กำหนดให้ได้ถูกต้องอย่างน้อย
50%
สาระการเรียนรู้
บทที่ 3 โครงสร้างของโปรแกรม
- พรีโปรเซสเซอร์ไดเรกทีฟ
- ส่วนประกาศ
- ส่วนฟังก์ชันหลัก
- ส่วนกำหนดฟังก์ชันขึ้นใช้เอง
- ส่วนอธิบายโปรแกรม
- โปรแกรมภาษาซีเบื้องต้น
- ตัวแปร
- การเก็บข้อมูลของตัวแปร
- การรับและพิมพ์ข้อมูลเบื้องต้น
- ฟังก์ชัน printf()
- ฟังก์ชัน scanf()
- โปรแกรมอินเตอร์แรคทีฟ
- คำสั่งพื้นฐานการรับและการแสดงข้อมูล
บทที่ 4 ประเภทของข้อมูล
-
ข้อมูลชนิดซิมเปิล
- ข้อมูลประเภทสตริง (String
Type)
- การประกาศตัวแปรและค่าคงที่
- การประกาศตัวแปร
- การประกาศค่าคงที่
- การตั้งชื่อตัวแปร
- ตัวดำเนินการ (Operator)
- การใช้ Compound
Assignment ในการยุบนิพจน์
- การเปลี่ยนประเภทของข้อมูล
บทที่ 5 คำสั่งเลือกทำแบบทางเดียว
(if)
- คำสั่งเลือกทำอย่างใดอย่างหนึ่ง (if-else)
- การเลือกทำแบบ switch
บทที่ 6 การวนรอบทำซ้ำด้วยคำสั่ง
for
- ลูป while (while statement)
- ลูป do/while
- คำสั่ง break และ continue
บทที่ 7 การสร้างฟังก์ชัน
- โปรโตไทป์ (Prototypes)
- ตัวแปรทั่วไปและตัวแปรเฉพาะที่
- ฟังก์ชันประเภทต่างๆ
- ฟังก์ชันมาตรฐาน
บทที่ 8 ข้อมูลชนิดอาร์เรย์
- ตัวแปรอาร์เรย์ 1 มิติ
- ตัวแปรอาร์เรย์ 2 มิติ
- ข้อมูลชนิดสตริง
บทที่
9 ตัวแปรโครงสร้างและยูเนียน
- การประกาศตัวแปรโครงสร้าง
- อาร์เรย์ของตัวแปรโครงสร้าง
- การกำหนดตัวแปรโครงสร้างซ้อนโครงสร้าง
- การคืนค่าโครงสร้างจากฟังก์ชัน
บทที่ 10 การประกาศตัวแปรพอยน์เตอร์
- การกำหนดค่าให้พอยน์เตอร์
- พอยน์เตอร์กับอาร์เรย์
บทที่ 11 การจัดการไฟล์
- ประเภทของไฟล์
- พื้นฐานการทำงานกับไฟล์
- การอ่านและการเขียนเท็กซ์ไฟล์
- การอ่านและการเขียนไบนารีไฟล์
- การเข้าถึงข้อมูลแบบสุ่ม
คุณธรรมที่มุ่งเน้น
ความซื่อสัตย์ สุจริต
กิจกรรมการเรียนรู้(สัปดาห์ที่
18 ชั่วโมงที่ 69-72 )
ขั้นนำ
-
ขั้นกิจกรรม
-
ขั้นวิเคราะห์
-
ขั้นสรุปและประเมินผล
-
สื่อการเรียนการสอนและแหล่งการเรียนรู้
-
หลักฐานการเรียนรู้
-
การวัดและประเมินผล
เครื่องมือประเมิน
1.
ข้อสอบแบบอัตนัย จำนวน 3 ข้อ
เกณฑ์การประเมิน
นักเรียนสามารถทำข้อสอบที่กำหนดให้ได้ถูกต้องอย่างน้อย
50%
บันทึกผลหลังการจัดการเรียนรู้
ข้อสรุปหลังการจัดการเรียนรู้
-
ปัญหาที่พบ
-
แนวทางการแก้ปัญหา
-
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น