วันศุกร์ที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

งานวิจัยปี 56

 



การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาการเขียนโปรแกรมภาษาซี    เรื่อง  ฟังก์ชันรับข้อมูลและฟังก์ชันแสดงผลลัพธ์     ของนักเรียนสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ      ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง   โรงเรียนกรุงเทพการบัญชีวิทยาลัย     โดยใช้วิธีแบบฝึกปฏิบัติในกระบวนการเรียนการสอน










นางสาวณัฐพร             หอมเมือง









งานวิจัยชั้นเรียนของแผนกคอมพิวเตอร์
โรงเรียนกรุงเทพการบัญชีวิทยาลัย
ปีการศึกษา 2556
ชื่อเรื่อง                        การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาการเขียนโปรแกรมภาษาซี    เรื่อง  ฟังก์ชันรับข้อมูลและฟังก์ชันแสดงผลลัพธ์     ของนักเรียนสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ   
ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง   โรงเรียนกรุงเทพการบัญชีวิทยาลัย    
โดยใช้วิธีแบบฝึกปฏิบัติในกระบวนการเรียนการสอน
ชื่อผู้วิจัย/ตำแหน่ง              นางสาวณัฐพร   หอมเมือง   ครูแผนกคอมพิวเตอร์
วุฒิการศึกษา                        วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
สถานศึกษาที่สังกัด            โรงเรียนกรุงเทพการบัญชีวิทยาลัย
การติดต่อผู้วิจัย                  02-2089802 ถึง 9 ต่อ 161
ปีที่ทำวิจัยเสร็จ                    สิงหาคม  2556
ลักษณะกลุ่มงานวิจัย         กลุ่มการเรียนการสอน

 


งานวิจัยฉบับนี้ได้รับความเห็นชอบจากโรงเรียนกรุงเทพการบัญชีวิทยาลัยให้เป็นงานวิจัยของสถาบัน
ปีการศึกษา  2556




(นายพิเศศ  บูรณะสมบัติ)
ผู้อำนวยการ










ชื่อเรื่อง                        การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาการเขียนโปรแกรมภาษาซี    เรื่อง  ฟังก์ชันรับข้อมูลและฟังก์ชันแสดงผลลัพธ์     ของนักเรียนสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ   
ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง   โรงเรียนกรุงเทพการบัญชีวิทยาลัย    
โดยใช้วิธีแบบฝึกปฏิบัติในกระบวนการเรียนการสอน
ชื่อผู้วิจัย/ตำแหน่ง              นางสาวณัฐพร   หอมเมือง   ครูแผนกคอมพิวเตอร์
วุฒิการศึกษา                        วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
สถานศึกษาที่สังกัด            โรงเรียนกรุงเทพการบัญชีวิทยาลัย
การติดต่อผู้วิจัย                  02-2089802 ถึง 9 ต่อ 161
ปีที่ทำวิจัยเสร็จ                    สิงหาคม  255
ลักษณะกลุ่มงานวิจัย         กลุ่มการเรียนการสอน


บทคัดย่อ
                การวิจัยชั้นเรียน  เรื่องการศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาการเขียนโปรแกรมภาษาซี    เรื่อง  ฟังก์ชันรับข้อมูลและฟังก์ชันแสดงผลลัพธ์ ของนักเรียนสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง   โรงเรียนกรุงเทพการบัญชีวิทยาลัย โดยใช้วิธีแบบฝึกปฏิบัติในกระบวนการเรียนการสอน โดยกลุ่มประชากรเป้าหมายเป็นนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ชั้นปีที่ 2 ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 โรงเรียนกรุงเทพการบัญชีวิทยาลัย  จำนวน  ห้อง รวมนักเรียน 15 คน    เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือชุดแบบทดสอบก่อนเรียน 1 ชุด  แบบฝึกปฏิบัติเรื่องการใช้ฟังก์ชันรับข้อมูลและฟังก์ชันแสดงผลลัพธ์ 2 ชุด  และแบบทดสอบหลังเรียน 1 ชุด
ผลการวิจัยพบว่าผลการเปรียบเทียบคะแนนจากแบบทดสอบก่อนเรียนกับแบบฝึกปฏิบัติที่ครูได้สร้างขึ้น เรื่องการใช้ฟังก์ชันรับข้อมูลและฟังก์ชันแสดงผลลัพธ์ รายวิชาการเขียนโปรแกรมภาษาซีของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ชั้นปีที่  2  เชื่อถือได้มีระดับนัยสำคัญที่ 0.01







ชื่อเรื่อง                        การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาการเขียนโปรแกรมภาษาซี    เรื่อง  ฟังก์ชันรับข้อมูลและฟังก์ชันแสดงผลลัพธ์     ของนักเรียนสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ   
ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง   โรงเรียนกรุงเทพการบัญชีวิทยาลัย    
โดยใช้วิธีแบบฝึกปฏิบัติในกระบวนการเรียนการสอน
ชื่อผู้วิจัย/ตำแหน่ง              นางสาวณัฐพร   หอมเมือง  ครูแผนกคอมพิวเตอร์
วุฒิการศึกษา                        วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
สถานศึกษาที่สังกัด            โรงเรียนกรุงเทพการบัญชีวิทยาลัย
การติดต่อผู้วิจัย                  02-2089802 ถึง 9 ต่อ 161
ปีที่ทำวิจัยเสร็จ                    สิงหาคม  2556
ลักษณะกลุ่มงานวิจัย         กลุ่มการเรียนการสอน

ความสำคัญและความเป็นมา
                ภาษาซีเป็นภาษาคอมพิวเตอร์ที่ทรงประสิทธิภาพมีลักษณะเป็นโครงสร้างและใช้ได้กับงานหลายๆด้าน และยังเป็นพื้นฐานของอีกหลายๆภาษาในปัจจุบัน คุณสมบัติเด่นอีกด้านหนึ่งของภาษาซีโปรแกรมที่ถูกเขียนขึ้นด้วยภาษาซีสามารถนำไปใช้ได้กับเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นได้ง่ายกว่าภาษาระดับสูงอื่นๆ  การฝึกหัดเขียนโปรแกรมไม่ควรจะทำเพียงเพื่อให้ได้เกรดหรือสอบผ่านในรายวิชาเรียนเท่านั้น  การที่เราฝึกฝนการเขียนโปรแกรมไปเรื่อยๆ  จะช่วยให้ผู้เขียนโปรแกรมได้ขบคิดและเกิดความคิดทางตรรกะที่สามารถนำไปใช้แก้ปัญหาต่างๆ  และยังช่วยให้เราเข้าใจการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์มากขึ้น    นักเรียนที่เริ่มเขียนโปรแกรมใหม่ๆอาจจะยังจำรูปแบบไวยากรณ์ของภาษาไม่ได้ทำให้เกิดความผิดพลาดขึ้นมา  ไม่ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ  ไม่สามารถแก้ไขข้อผิดพลาดของโปรแกรมด้วยตัวเองได้  ทำให้ส่งงานไม่ได้ทันตามกำหนดเวลา ใช้เวลานานในการแก้ไขข้อผิดพลาดแบบเล็กน้อย ซึ่งการเขียนโปรแกรมนั้นจะต้องฝึกฝนและต้องใช้ความพยายาม ขยันทดสอบแก้ไขข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นกับโปรแกรมบ่อยๆและมากถ้าเราศึกษาการเขียนโปรแกรมไปเรื่อยๆจะมีความชำนาญถึงขั้นสูง
จากปัญหาดังกล่าวข้างต้น  ครูผู้สอนจึงสนใจทำวิจัยเรื่อง การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาการเขียนโปรแกรมภาษาซี    เรื่อง  ฟังก์ชันรับข้อมูลและฟังก์ชันแสดงผลลัพธ์     ของนักเรียนสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ   ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง   โรงเรียนกรุงเทพการบัญชีวิทยาลัย     โดยใช้วิธีแบบฝึกปฏิบัติในกระบวนการเรียนการสอน
                ทั้งนี้ เพื่อนำข้อมูลที่ได้จากการวิจัยมาใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงวิธีการสอนของครู ให้ง่ายต่อการเรียนรู้ อันจะส่งผลให้ได้คะแนนสอบในระดับดี   และทำงานส่งได้ทันเวลา ในวิชาการเขียนโปรแกรมภาษาซีมากยิ่งขึ้น  และยังก่อให้เกิดการเรียนรู้และนักเรียนสามารถนำความรู้ที่ได้ไปพัฒนาต่อยอดการเรียนรู้ต่อในระดับสูงได้  อันจะเกิดประโยชน์ต่อไปในอนาคต  การจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาทักษะในการปฏิบัติ เป็นวิธีการเรียนที่มุ่งให้เกิดเป็นความรู้ ความเข้าใจแล้ว ยังทำให้นักเรียน ไม่เครียดในเนื้อหาวิชา และถ้ามีการปรับปรุง พัฒนา ฝึกฝนก็จะเกิดทักษะในการเขียนโปรแกรมมากยิ่งขึ้น

ภาษาคอมพิวเตอร์
ในปัจจุบันได้มีการแบ่งภาษาคอมพิวเตอร์ออกเป็น 2 ระดับดังนี้
                ภาษารับต่ำ  ได้แก่  ภาษาเครื่อง  ภาษาแอสแซมบลี (Assambly)
                ภาษาระดับสูง  ได้แก่  Pascal, Cobol, C เป็นต้น
ความแตกต่างระหว่างภาษาระดับระดับต่ำและระดับสูงก็คือภาษาระดับต่ำเป็นภาษาที่คอมพิวเตอร์เข้าใจได้ง่ายกว่าภาษาระดับสูง  เพราะว่าคอมพิวเตอร์เข้าใจคำสั่งในแบบของเลขฐานสองโดยภาษาระดับต่ำสามารถนำไปใช้ในการเขียนโปรแกรมควบคุมระบบฮาร์ดแวร์ของเครื่องได้ดี  แต่มีข้อเสียคือโปรแกรมที่เขียนจะมีความยาวมากและเข้าใจได้ยาก   ในขณะที่ภาษาระดับสูงจะมีความใกล้เคียงกับภาษามนุษย์ (เหมือนภาษาอังกฤษ) และสามารถเขียนได้โดยใช้บรรทัดที่น้อยกว่าภาษาระดับต่ำ  แต่ให้ผลลัพธ์ที่เหมือนกัน  ภาษาระดับสูงนั้นถูกสร้างขึ้นมาเพื่อลดความซับซ้อนยุ่งยากของภาษาระดับต่ำ  ทำให้เราสามารถเขียนโปรแกรมได้ง่ายขึ้น  สำหรับภาษาใหม่ๆที่เกิดขึ้นในยุคหลังๆเป็นภาษาระดับสูงเช่น JAVA, ASP, Python, PHP ตัวภาษานั้นไม่ได้ทำงานในระดับฮาร์ดแวร์อีกต่อไปแล้ว

ประวัติโดยย่อยของภาษา C
                ภาษา C เป็นภาษาที่ได้รับการพัฒนาขึ้นในปีค.ศ. 1970  โดย Dennis  Ritchie  จาก Bell Telephone Laboratories Inc. (ปัจจุบันคือ  AT & T Bell Laboratories) โดยการนำภาษา BCPL  และภาษา B มาพัฒนาต่อเพื่อให้ช่วยเขียนโปรแกรมอื่นๆและพัฒนาเป็นระบบ(OS)ได้ง่ายขึ้น โดยในยุคนั้นภาษา C ถูกใช้งานบนระบบยูนิกซ์เป็นส่วนมาก  เพราะว่ายุคนั้นระบบ Windows  ยังไม่เกิด
                ภาษา C ถูกนำมาใช้งานใน  Bell Telephone Laboratories Inc. จนเมื่อปีค.ศ. 1978 ภาษา C ถูกเผยแพร่อย่างเป็นทางการ   จนกระทั่งมีความพยายามกำหนดมาตรฐานของภาษาเพื่อให้สามารถใช้ภาษาซีได้บนเครื่องคอมพิวเตอร์ใด ๆ ในปี ค.. 1983 โดย ANSI (The American National Standards Institute) ได้ตั้งคณะกรรมการ X3J11  เพื่อร่างมาตรฐานดังกล่าว  และได้รับการตรวจสอบและยอมรับโดย ANSI  และ  ISO (The International
Standards Organization )  โดยมีการตีพิมพ์มาตรฐานของภาษาซีใน  ปี ค..  1990  จากความมีประสิทธิภาพ
และสามารถทำงานบนเครื่องคอมพิวเตอร์ของภาษาซีจึงได้มีการนำภาษาซีไปใช้ในการพัฒนาระบบปฏิบัติการต่างๆ
และใช้เป็นต้นแบบของภาษาอื่นๆ  ที่สำคัญในปัจจุบัน เช่น  ซีพลัสพลัส (C++) จาวา (Java) เป็นต้น

องค์ประกอบที่สำคัญของภาษาซี
1.             โครงสร้างของภาษาซี (Structure)
2.             ข้อมูล (Data)
3.             ตัวแปร (Variable)
4.             ตัวดำเนินการ (Operator)
5.             นิพจน์ (Expression)
6.             หมายเหตุ (Comment)
7.             ประเภทของคำสั่งในภาษาซี (Type Of  Command)

โครงสร้างของภาษาซี
1.             ส่วนคำสั่งพรีโพรเซสเซอร์ (Preprocessor  Statement)
2.             ส่วนประกาศ (Global  Declarations)
3.             ส่วนฟังก์ชันหลัก (main()  Function)
4.             ส่วนกำหนดฟังก์ชันที่สร้างขึ้นเอง (User –Defined Function)

ข้อมูล (Data)
                ข้อมูล หมายถึง สิ่งต่างๆที่เกี่ยวข้องกับโจทย์ที่ต้องนำมาใช้ในการแก้ปัญหา  หรือนำมาใช้ในการเขียนโปรแกรม ซึ่งข้อมูลที่จะนำมาใช้งานในภาษาซี  แบ่งออกเป็น  6 ประเภท คือ
1.             เลขจำนวนเต็ม (Integer)
เลขจำนวนเต็มในภาษาซี  หมายถึง  จำนวนเต็มบวก  จำนวนเต็มศูนย์ และจำนวนเต็มลบ เป็นข้อมูลที่สามารถนำไปใช้ในการคำนวณได้
2.             เลขทศนิยม (Float)
เป็นตัวเลขจำนวนทศนิยม  อาจมีเครื่องหมายบวกหรือเครื่องหมายลบ  สามารถนำไปใช้ในการคำนวณได้  การเขียนตัวเลขทศนิยมนี้จะเขียนอยู่ในรูป e ยกกำลัง  เช่น  1.5,0.245,5e-02,2.4e+15,-1.4e+03 เป็นต้น
3.             เลขฐานแปด (Octal)
การเขียนเลขฐานแปดทำได้โดยเขียนเลขศูนย์ (0)  นำหน้าตัวเลขนั้น
4.             เลขฐานสิบหก (Hexadecimal)
การเขียนเลขฐานสิบหกทำได้โดยเขียนเลขศูนย์และตัว x (0x)  นำหน้าตัวเลขนั้น
5.             ตัวอักขระ (Character)
หมายถึงตัวอักษรหรือสัญลักษณ์พิเศษต่างๆ  ที่มีความหมาย  และมีความยาว  1 ตัวอักษรเท่านั้น สามารถเป็นได้ตั้งแต่ A-Z , a-z, 0-9   หรือสัญลักษณ์พิเศษต่างๆ  ข้อมูลตัวอักษรจะต้องเขียนอยู่ในเครื่องหมาย ‘ ’ (Single  Quote)
6.             ข้อความ (String)
ข้อมูลข้อความในภาษาซี  หมายถึง  ตัวอักขระที่มีความยาวมากกว่า  1 ตัว เรียงติดต่อกันเป็นข้อความ  การเขียนข้อมูลข้อความจะต้องเขียนอยู่ในเครื่องหมาย “ “ (Double  Quote)
ตัวแปร (Variable)
                ตัวแปร หมายถึง  ชื่อที่ตั้งขึ้นมาเพื่อใช้ในการอ้างอิงข้อมูลในหน่วยความจำหลักของเครื่องคอมพิวเตอร์ซึ่งการใช้งานข้อมูลต่างๆต้องเรียกผ่านชื่อของตัวแปรเสมอ

ตัวดำเนินการ (Operator)
                ตัวดำเนินการในภาษาซี  แบ่งออกเป็น
1.             ตัวดำเนินการทางคณิตศาสตร์ (Mathematical  Operators)
2.             ตัวดำเนินการเปรียบเทียบ   (Relational  Operators)
3.             ตัวดำเนินการทางตรรกศาสตร์   (Logical Operators)
4.             ตัวดำเนินการเพิ่มค่าและลดค่า   (Increment  and  Decrement  Operators)
5.             ตัวดำเนินการบิตไวส์   (Bitwise  Operators)

นิพจน์ (Expression)
                นิพจน์  หมายถึง การนำข้อมูลประเภทต่างๆ ตัวแปร  และตัวดำเนินการมาเขียนประกอบกันแล้วเขียนเป็นคำสั่ง และตัวแปรภาษา สามารถเข้าใจและทำการประมวลผลแล้วหาผลลัพธ์ได้ตามต้องการ

หมายเหตุ (Comment)
                การเขียนหมายเหตุไว้ในโปรแกรม  เพื่อเพิ่มความเข้าใจของผู้เขียน  หรือเพื่อให้ผู้ที่มาอ่านโปรแกรมได้เข้าใจในสิ่งที่เขียนขึ้น  โดยข้อความเหล่านั้นจะไม่มีผลกระทบกับการทำงานของโปรแกรม

ประเภทของคำสั่งในภาษาซี(Type  Of Command)
                คำสั่งในภาษาซี แบ่งออกเป็น  4 ประเภทคือ
1.             คำสั่งการแสดงผล (Output)
2.             คำสั่งการรับข้อมูล  (Input)
3.             คำสั่งเงื่อนไขหรือเลือกทำ  (Condition)
4.             คำสั่งวนรอบการทำงาน  (Looping)

ฟังก์ชันรับข้อมูล
                   ฟังก์ชันรับข้อมูล  หมายถึง ฟังก์ชันที่ทำหน้าที่รับข้อมูลเข้ามาในโปรแกรมเพื่อทำการประมวลผลให้ได้ผลลัพธ์ตามต้องการ  ในภาษาซีฟังก์ชันรับข้อมูล  แบ่งออกเป็น
1.             ฟังก์ชัน  scanf()
2.             ฟังก์ชัน   getchar()
3.             ฟังก์ชัน   getch()
4.             ฟังก์ชัน   getche()
5.             ฟังก์ชัน   gets()

ฟังก์ชันแสดงผลลัพธ์
                ฟังก์ชันแสดงผลลัพธ์ หมายถึง ฟังก์ชันที่ทำหน้าที่แสดงผลลัพธ์ที่ได้จากโปรแกรม  ซึ่งในภาษาซีมีฟังก์ชันแสดงผลลัพธ์ แบ่งออกเป็น
1.             ฟังก์ชัน   printf()
2.             ฟังก์ชัน   putchar()
3.             ฟังก์ชัน   puts()

กรอบแนวความคิดในการวิจัย
ตัวแปรต้น
แบบฝึกปฏิบัติ
ตัวแปรตาม
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาการเขียนโปรแกรมภาษาซี
 






สมมติฐานในการวิจัย
                นักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ชั้นปีที่  2   สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ  โรงเรียนกรุงเทพการบัญชีวิทยาลัย ที่เรียนวิชาการเขียนโปรแกรมภาษาซี   มีความสามารถในการเขียนโปรแกรมภาษาซีได้

 ความหมายของแบบฝึกเสริมทักษะ
                        ภาษาเป็นเรื่องทักษะ  ซึ่งจำแนกได้เป็น  2  ทาง  คือ  ทักษะการรับเข้า  ได้แก่  การอ่านและการฟัง  และทักษะการแสดงออก  ได้แก่  การพูดและเขียน  ทักษะทางภาษาจำเป็นต้องฝึกฝนอยู่เสมอ  แบบฝึกเสริมทักษะนับว่าเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างหนึ่งสำหรับการเรียนภาษาได้มีผู้รู้และผู้เชี่ยวชาญทางภาษา  ให้ความหมายของแบบฝึกเสริมทักษะไว้ดังนี้
                                ศศิธร  ธัญลักษณานันท์  (2542 : 375)  ให้ความหมายแบบฝึกเสริมทักษะว่า  หมายถึง  แบบฝึกเสริมทักษะที่ใช้ฝึกความเข้าใจ  ฝึกทักษะต่าง ๆ และทดสอบความสามารถของนักเรียนตามบทเรียนที่ครูสอนว่า  นักเรียนเข้าใจและสามารถนำไปใช้ได้มากน้อยเพียงใด
                        กู๊ด  (Good  1973 : 224, อ้างถึงใน  ลักษณา  อินทะจักร  2538 : 160)  ให้ความหมายแบบฝึกเสริมทักษะว่า  หมายถึง  งานหรือการบ้านที่ครูมอบหมายให้นักเรียนทำ  เพื่อทบทวนความรู้ที่ได้เรียนมาแล้ว  และเป็นการฝึกทักษะการใช้กฎใช้สูตรต่าง ๆ ที่เรียนไป
                       
                        ดังนั้น  จึงอาจกล่าวได้ว่า  แบบฝึกเสริมทักษะ  หมายถึง  งานหรือกิจกรรมที่ครู    สร้างขึ้น  โดยมีรูปแบบกิจกรรมที่หลากหลาย  มีจุดมุ่งหมายเพื่อฝึกให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจบทเรียนได้ดียิ่งขึ้น  และช่วยฝึกทักษะต่าง ๆ ให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างแท้จริง  อาจจะให้นักเรียนทำแบบฝึกขณะเรียนหรือหลังจากจบบทเรียนไปแล้วก็ได้
ความสำคัญของแบบฝึกเสริมทักษะ
                        ภายหลังจากการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนไปแล้ว  การเรียนการสอนนั้นย่อม ไม่เกิดผลอย่างเต็มที่ถ้าไม่ได้รับการฝึกทักษะให้เกิดความชำนาญและเข้าใจอย่างแท้จริง  วิชาทักษะเป็นวิชาที่ต้องอาศัยการฝึกฝนให้เกิดความชำนาญคล่องแคล่ว  เพื่อช่วยให้เด็กเกิดพัฒนาการเพิ่มขึ้นตามวัยและความสามารถของตนที่จะทำได้  และเครื่องมืออย่างหนึ่งที่ใช้ฝึกทักษะให้ได้ผลดีก็คือ  แบบฝึกเสริมทักษะ  ดังที่นักวิชาการหลายท่านได้กล่าวถึงความสำคัญของแบบฝึกเสริมทักษะไว้ดังนี้
                        กมล  ดิษฐกมล  (2526 : 18, อ้างถึงใน  ลักษณา  อินทะจักร  2538 : 163)  กล่าวว่า  แบบฝึกเสริมทักษะเป็นหัวใจของการสอนวิชาทักษะอยู่ที่การฝึก  การฝึกอย่างถูกวิธีเท่านั้นจะทำให้เกิดความชำนิชำนาญ  คล่องแคล่วว่องไวและทำได้โดยอัตโนมัติ
                        วีระ  ไทยพานิช  (2528 : 11)  ได้อธิบายว่า  แบบฝึกเสริมทักษะทำให้เกิดการเรียนรู้จากการกระทำจริง  เป็นประสบการณ์ตรงที่ผู้เรียนมีจุดประสงค์แน่นอน  ทำให้สามารถรู้และจดจำสิ่งที่เรียนได้ดี  จนนำไปใช้ในสถานการณ์เช่นเดียวกันได้
                        ดังนั้น  แบบฝึกเสริมทักษะจึงเป็นเครื่องมือสำคัญ  ที่จะช่วยให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนสูงขึ้น  แบบฝึกเสริมทักษะจึงนับว่ามีความสำคัญและจำเป็นต่อการเรียนวิชาที่ต้องการฝึกฝนเพื่อให้เกิดความชำนาญ  มีความเข้าใจเนื้อหาบทเรียนมากยิ่งขึ้น

ลักษณะที่ดีของแบบฝึกเสริมทักษะ
                        การสร้างแบบฝึกเสริมทักษะให้มีประสิทธิภาพต้องมีหลักในการสร้างที่สอดคล้องกับลักษณะที่ดีของแบบฝึกเสริมทักษะด้วย  ซึ่งมีผู้รู้ได้เสนอแนะไว้ดังนี้
                        การสร้างแบบฝึกเสริมทักษะให้มีประสิทธิภาพต้องมีหลักในการสร้างที่สอดคล้องกับลักษณะที่ดีของแบบฝึกเสริมทักษะด้วย  ซึ่งมีผู้รู้ได้เสนอแนะไว้ดังนี้
                        นิตยา  ฤทธิ์โยธี  (2520 : 1)  ได้กล่าวถึงลักษณะที่ดีของแบบฝึกเสริมทักษะไว้ว่า     แบบฝึกเสริมทักษะต้องเกี่ยวข้องกับสิ่งที่เรียนมาแล้ว  เหมาะสมกับระดับ  วัย  หรือความสามารถของเด็ก  มีคำชี้แจงสั้น ๆ ที่ทำให้เด็กเข้าใจวิธีทำได้ง่าย  ใช้เวลาเหมาะสมหรือใช้เวลาไม่นาน  และเป็นสิ่งที่น่าสนใจและท้าทายให้แสดงความสามารถ
                                ดังนั้น แบบฝึกเสริมทักษะที่ดี  ครูผู้สร้างจะต้องยึดหลักจิตวิทยา  ใช้สำนวนภาษาที่ง่าย  เหมาะสมกับวัย  ความสามารถของผู้เรียน  มีกิจกรรมหลากหลาย  มีคำสั่ง  คำอธิบาย  และคำแนะนำการใช้แบบฝึกเสริมทักษะที่ชัดเจนเข้าใจง่าย  ใช้เวลาในการฝึกไม่นานและที่สำคัญมีความหมายต่อชีวิต  เพื่อนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

 หลักการสร้างแบบฝึกเสริมทักษะ
                        การสร้างแบบฝึกเสริมทักษะให้มีประสิทธิภาพต้องมีหลักการสร้างที่สอดคล้องกับลักษณะที่ดีของแบบฝึกเสริมทักษะด้วย  ซึ่งในเรื่องนี้ได้มีผู้เสนอแนะไว้ดังนี้
                                เกสร  รองเดช  (2522 : 36 – 37)  ได้เสนอแนะแนวทางในการสร้างแบบฝึกเสริมทักษะดังนี้
                        1.  สร้างแบบฝึกเสริมทักษะให้เหมาะสมกับนักเรียน  คือ  ไม่ง่ายไม่ยากจนเกินไป
                        2.  เรียงลำดับแบบฝึกเสริมทักษะจากง่ายไปหายาก
                        3.  แบบฝึกเสริมทักษะบางแบบควรใช้ภาพประกอบ  เพื่อดึงดูดความสนใจของนักเรียน  ซึ่งจะช่วยให้นักเรียนประสบความสำเร็จในการฝึก  และจะช่วยยั่วยุให้ติดตามต่อไปตามหลักของการจูงใจ
                        4.  แบบฝึกเสริมทักษะที่สร้างขึ้นเป็นแบบฝึกสั้น ๆ ง่าย ๆ ใช้เวลาในการฝึกประมาณ  30  ถึง  45  นาที
5.  เพื่อป้องกันความเบื่อหน่าย แบบฝึกต้องมีลักษณะต่างๆ เช่น เติมคำลงในช่องว่างและใช้เกมประกอบ

จากแนวคิดข้างต้นสามารถสรุปได้ว่า  การสร้างแบบฝึกเสริมทักษะควรมีหลักในการสร้างดังนี้
                        1.  ต้องยึดหลักจิตวิทยาการเรียนรู้และพัฒนาการของผู้เรียนในแต่ละวัย  ต้องคำนึงถึงความสามารถ  ความสนใจ  แรงจูงใจของนักเรียน
                        2.  ตั้งจุดประสงค์ในการฝึกว่าต้องการฝึกเสริมทักษะและเนื้อหาใด  ต้องการให้เกิดการเรียนรู้อะไร
                        3.  แบบฝึกเสริมทักษะต้องไม่ยากไม่ง่ายจนเกินไป  คำนึงถึงความสามารถของเด็กและต้องเรียงลำดับจากง่ายไปหายาก
                        4.  ต้องศึกษาขั้นตอนต่าง ๆ ในการสร้างแบบฝึกเสริมทักษะ  ปัญหาและข้อบกพร่องของนักเรียน
                        5.  แบบฝึกเสริมทักษะต้องมีคำชี้แจง  และควรมีตัวอย่างเพื่อให้นักเรียนมีความเข้าใจมากขึ้น  และสามารถทำได้ด้วยตนเอง
                        6.  แบบฝึกเสริมทักษะควรมีหลายรูปแบบ  หลายลักษณะ  เพื่อจูงใจในการทำ  ทำให้นักเรียนมีความรู้สึกว่ามีจำนวนไม่มาก
                        7.  ควรมีรูปภาพประกอบที่สวยงามเหมาะสมกับวัยของเด็ก
                        8.  ควรใช้ภาษาสั้น ๆ ง่าย ๆ ไม่ว่าจะเป็นเนื้อหาหรือคำสั่ง
                        9.  ควรมีการทดลองใช้เพื่อหาข้อบกพร่องต่าง ๆ ก่อนนำไปใช้จริง
                        10.  ควรจัดทำเป็นรูปเล่ม   ซึ่งสามารถเก็บรักษาได้ง่าย  นักเรียนสามารถนำมาทบทวนก่อนสอบได้


 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

                สุภาพร  สุภาพงษ์   (2552)  การพัฒนาความสามารถในการเรียนวิชาโปรแกรมสำเร็จรูป  โดยใช้เอกสารประกอบการเรียนที่สร้างขึ้น  มีนักเรียน 10 คน  ขาดทักษะในการปฏิบัติงานบางคน ไม่สามารถปฏิบัติงานได้เลย ทำให้ไม่มีงานส่ง เมื่อครูซักถามไม่สามารถตอบคำถามได้ถูกต้อง

                วันประชา  นวนสร้อย  (2553) การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเว็บโปรแกรมมิ่ง เรื่องการเขียนโปรแกรมภาษา PHP ติดต่อฐานข้อมูล MySQL ของนักศึกษาสาขาเทคนิคคอมพิวเตอร์ ผลการเรียนไม่เป็นไปตามเป้าประสงค์ตามที่ต้องการ ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่มาจากการจัดกิจกรรมจัดการเรียนรู้ โดยแนวทางในการแก้ปัญหาให้ผู้เรียนเรียนรู้โดยใช้ชุดฝึกทักษะซึ่งกระบวนการเรียนรู้แบบชุดฝึกทักษะจะเป็นการก่อให้เกิดการเรียนรู้ที่นำไปสู่การใช้งานจริงและสามารถเรียนต่อในระดับสูงต่อไป


ระเบียบวิธีวิจัย
                ประชากร
                                นักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพสูง ชั้นปีที่ 2  ที่กำลังศึกษาภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ  โรงเรียนกรุงเทพการบัญชีวิทยาลัย ห้อง FC01,LC01   จำนวน  15  คน
               
                ตัวแปรที่ศึกษา
                                ตัวแปรต้น   การใช้วิธีแบบฝึกปฏิบัติในกระบวนการเรียนการสอน  
ตัวแปรตาม  ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาการเขียนโปรแกรมภาษาซี



เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล
                                ผลคะแนนจากการสอบแบบทดสอบก่อนวิชาการเขียนโปรแกรมภาษาซีและคะแนนสอบแบบทดสอบฝึกปฏิบัติ      


ขั้นตอนในการสร้างแบบทดสอบและการสอบ
1.             ผู้วิจัยศึกษาทฤษฎีจากเอกสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาทักษะ แบบฝึกปฏิบัติ
2.             สร้างแบบทดสอบก่อนเรียนวิชาวิชาการเขียนโปรแกรมภาษาซี  จำนวน 10 ข้อ และสร้างแบบฝึกปฏิบัติ จำนวน 2 ชุด
3.             นำแบบทดสอบก่อนเรียนไปใช้ทดสอบนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพสูง ชั้นปีที่ 2  ห้อง FC01 และห้อง LC01  ที่กำลังเรียนในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 รวมจำนวน  15  คน


การรวบรวมข้อมูล
                ระยะเวลาของการทำวิจัย 5  สัปดาห์ โดยดำเนินการดังนี้
1.             คัดเลือกกลุ่มเป้าหมาย นักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพสูง ชั้นปีที่ 2 จำนวน 15 คน
2.             สร้างแบบทดสอบ 2 ชุด  ชุดที่ 1 เป็นแบบทดสอบก่อนเรียนวิชาการเขียนโปรแกรมภาษาซี จำนวน 10  ข้อ   ชุดที่ แบบฝึกปฏิบัติ  จำนวน  2  ชุด
3.             ครูให้นักเรียนทำข้อสอบ ชุดที่ 1 เพื่อเก็บคะแนนสอบไว้ใช้ในการเปรียบเทียบ
4.             ครูให้นักเรียนทำแบบฝึกปฏิบัติทั้ง 2 ชุด เพื่อเก็บคะแนนสอบไว้ใช้ในการเปรียบเทียบ
5.             นำผลคะแนนที่ได้มาเปรียบเทียบ ถึงความแตกต่างของคะแนน


การวิเคราะห์ข้อมูลสำคัญ
การวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยพิจารณาจากผลการให้คะแนนของนักเรียนที่ได้จากแบบทดสอบก่อนเรียนและคะแนนแบบฝึกปฏิบัติทั้ง 2 ครั้ง และให้นักเรียนทำแบบทดสอบหลังเรียน ซึ่งเป็นแบบทดสอบวิชาการเขียนโปรแกรมภาษาซี กับแบบฝึกปฏิบัติ  เรื่อง  ฟังก์ชันรับข้อมูลและฟังก์ชันแสดงผลลัพธ์  ของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง  ชั้นปีที่  2  สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ   โรงเรียนกรุงเทพการบัญชีวิทยาลัย  แล้วหาค่าเฉลี่ยเลขคณิต     ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน   และเปรียบเทียบคะแนนสอบที่ได้แต่ละกลุ่มโดยใช้สถิติ    t-test independent







ตารางแสดงผลคะแนนสอบของนักเรียน
ลำดับ
ชื่อ  - นามสกุล

ก่อนเรียน
ปฏิบัติ 1
ปฏิบัติ 2
หลังเรียน
1.
นส.เจนจิรา
ดีดเล็ก
4
5
6
6
2.
นายพิสิทธิ์
แซ่เฮง
6
6
6
8
3.
นายอดิรุจ
ฉลาด
5
6
5
7
4.
นายอรัณ
สมนีย์
5
5
6
5
5.
นส.ปิยะพร
สันวันดี
5
5
7
6
6.
นายชัยรัตน์
จันทร์แสง
5
6
7
6
7.
นายสิทธิพัฒน์
ทองโต
5
5
6
7
8.
นายวิชัย
ฟอกสันเทียะ
5
6
6
5
9.
นายภัทรพงษ์
โพธิ์ประสาท
8
6
6
8
10.
นายภูวนัย
สิงห์สมาน
6
6
7
8
11.
นส.กนกกาญ
จันทขัมมา
6
6
6
7
12.
นส.สรนันท์
มโนราช
5
5
5
6
13.
นายพิษณุ
บุญไทย
6
7
7
8
14.
นส.อัญชนา
ชากะจะ
6
5
6
6
15.
นายยศวัฒน์
พงศ์ดำรงเกียรติ
5
6
7
8
                                    
       

x
S.D
t
Sig
คะแนนก่อนเรียน
5.47
0.92
-4.43
0.01
คะแนนหลังเรียน
6.60
1.06


               
                        ผลการเปรียบเทียบคะแนนจากแบบทดสอบก่อนเรียนกับแบบฝึกปฏิบัติที่ครูได้สร้างขึ้น เรื่องการใช้ฟังก์ชันรับข้อมูลและฟังก์ชันแสดงผลลัพธ์ รายวิชาการเขียนโปรแกรมภาษาซีของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ชั้นปีที่  2  เชื่อถือได้มีระดับนัยสำคัญที่ 0.01




สรุปผลการวิจัย
                จากผลการวิจัยพบว่านักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพสูง ชั้นปีที่ 2 สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ  จำนวน 15 คน  สามารถเขียนโปรแกรมภาษาซีในระดับขั้นพื้นฐานได้  โดยจากเดิมอาจไม่สามารถเขียนหรือจำรูปแบบของฟังก์ชันการรับข้อมูลและฟังก์ชันการแสดงผลลัพธ์ได้   และเมื่อผ่านการทำแบบฝึกปฏิบัติ นักเรียนสามารถเขียนรูปแบบฟังก์ชันการรับข้อมูลและฟังก์ชันการแสดงผลลัพธ์ได้


อภิปรายผล
                จากผลการวิจัยพบว่านักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพสูง ชั้นปีที่ 2 สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ  จำนวน 15 คน  สามารถเขียนโปรแกรมภาษาซีในระดับขั้นพื้นฐานได้  โดยจากเดิมอาจไม่สามารถเขียนหรือจำรูปแบบของฟังก์ชันการรับข้อมูลและฟังก์ชันการแสดงผลลัพธ์ได้   และเมื่อผ่านการทำแบบฝึกปฏิบัติ นักเรียนสามารถเขียนรูปแบบฟังก์ชันการรับข้อมูลและฟังก์ชันการแสดงผลลัพธ์ได้  ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้  และยังสอดคล้องกับงานวิจัยของ  สุภาพร  สุภาพงษ์



ข้อเสนอแนะ
1.             ข้อเสนอแนะในการนำผลการวิจัยไปใช้
จากการเปรียบเทียบผลการสอบของนักเรียนเพื่อที่จะสามารถทำให้นักเรียนได้เกิดทักษะ ประสบการณ์  และความเข้าใจในเนื้อหาของบทเรียนให้มากที่สุดเพื่อจะได้ไม่เป็นการสูญเปล่าทางการศึกษานักเรียนสามารถเขียนโปรแกรมภาษาซีได้    และให้นักเรียนได้ฝึกเขียนโปรแกรมซ้ำๆจนกว่าจะเกิดความชำนาญ  และนำไปเป็นพื้นฐานของการเขียนโปรแกรมด้านต่างๆประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างเต็มที่

2.             ข้อเสนอแนะ/ข้อคิดเห็นในการศึกษาค้นคว้าต่อไป
ควรมีการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อ วิธีการสอนโดยใช้ชุดแบบฝึกทักษะการปฏิบัติ และควรมีการศึกษาเทคนิควิธีการสอนอื่น ๆ ที่สอดคล้องกับวิชาการเขียนโปรแกรมภาษาซี






บรรณานุกรม

นิรุธ  อำนวยศิลป์.  (2546).  คู่มือการเขียนโปรแกรมด้วยภาษา C.  โปรวิชั่น.
นรัรัตน์ นินมไทย. (2549).  การเขียนโปรแกรมภาษาซี.  กรุงเทพมหานคร : ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ.
นฤมล  เทพชู.  (2555).  การพัฒนาการอ่านออกเสียงทำนองเสนาะ เรื่องนิราศภูเขาทอง โดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านออกเสียงทำนองเสนาะ ของนักเรียนระดับชั้น ปวช.1 โรงเรียนกรุงเทพการบัญชีวิทยาลัย จังหวัดกรุงเทพมหานคร.
พวงรัตน์  ทวีรัตน์.  (2530) .  การสร้างและพัฒนาแบบทดสอบผลสัมฤทธิ์. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร
ไพศาล  หวังพานิช.  (2536).  การวัดผลการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพานิช.
วิจักษณ์ ศรีสัจจะเลิศวาจา. (2545).  การเขียนโปรแกรมภาษาซี.  เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.


ไม่มีความคิดเห็น: