ชื่อหน่วย การสร้างฟังก์ชันในภาษาซี สัปดาห์ที่ 12
ชื่อเรื่อง การสร้างฟังก์ชันในภาษาซี จำนวน 4 ชั่วโมง
ครูผู้สอน ณัฐพร
หอมเมือง ระดับชั้น ปวส.2
สาระสำคัญ
การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้นสามารถสร้างคำใหม่ๆขึ้นมาได้ และสามารถเรียกใช้ได้เมื่อต้องการ
โดยคำใหม่ที่สร้างขึ้นประกอบด้วยฟังก์ชั่นต่างๆรวมกันอยู่ ถ้าหากคำใหม่ที่สร้างขึ้นนี้ไม่มีการคืนค่าออกมา
การทำงานจะทำงานเป็นโปรแกรมย่อย
ถ้ามีการคืนค่ากลับออกมาจะทำงานเป็นฟังก์ชัน
ถ้าหากผู้เขียนโปรแกรมทำความเข้าใจวิธีสร้างคำใหม่หรือการสร้างฟังก์ชันนี้จะทำให้โปรแกรมทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
สมรรถนะประจำหน่วยการเรียนรู้
แสดงความรู้เกี่ยวกับการสร้างฟังก์ชัน โปรโตไทป์(Prototypes) ตัวแปรทั่วไปและตัวแปรเฉพาะที่ ฟังก์ชันประเภทต่างๆ ฟังก์ชันมาตรฐาน
จุดประสงค์การเรียนรู้
จุดประสงค์ทั่วไป
1.
เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการสร้างฟังก์ชันในภาษาซี
2.
เพื่อให้สามารถนำความรู้เกี่ยวกับการสร้างฟังก์ชันในภาษาซีไปประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม
3.
เพื่อให้เห็นคุณค่าและความสำคัญของโปรแกรมภาษาซี
จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
1. บอกวิธีการสร้างฟังก์ชันในภาษาซีได้
2. เขียนโปรแกรมด้วยการสร้างฟังก์ชันในภาษาซีได้
สาระการเรียนรู้
1. การสร้างฟังก์ชัน
2. โปรโตไทป์ (Prototypes)
3. ตัวแปรทั่วไปและตัวแปรเฉพาะที่
4. ฟังก์ชันประเภทต่างๆ
5. ฟังก์ชันมาตรฐาน
คุณธรรมที่มุ่งเน้น
ความมีคุณธรรมจริยธรรม
กิจกรรมการเรียนรู้ (สัปดาห์ที่
12 ชั่วโมงที่ 45-48)
ขั้นนำ
1.
ครูนำเข้าสู่บทเรียนโดยทบทวนวิธีและเทคนิคในการเขียนโปรแกรมในลักษณะต่างๆ
ขั้นกิจกรรม
2.
ครูอธิบายเนื้อหาให้นักเรียนทราบ
ขั้นวิเคราะห์
3.
ครูให้นักเรียนทำใบงานที่
7.1 ใบงาน 7.2 ใช้เวลา 100 นาที
ขั้นสรุปและประเมินผล
4. ครูให้นักเรียนทุกคนสรุปขั้นตอนในการสร้างฟังก์ชันตามใบงานที่กำหนดเพื่อทบทวนความรู้ที่ได้เรียนมาลงในสมุดจด
สื่อการเรียนการสอนและแหล่งการเรียนรู้
1.
คู่มือการเขียนโปรแกรมภาษาซี.
ธีรวัฒน์ ประกอบผล. ซีเอ็ดยูเคชั่น,2552
2.
ฝึกการเขียนโปรแกรมจากรวมโจทย์ข้อสอบภาษาซี. ประภาพร
ช่างไม้. Dev Book, 2549.
3.
แหล่งเรียนรู้ ได้แก่
3.1
ห้องอินเตอร์เน็ต
โรงเรียนกรุงเทพการบัญชีวิทยาลัย
หลักฐานการเรียนรู้
1.
ไฟล์งาน
2.
สมุดจด
การวัดและประเมินผล
เครื่องมือประเมิน
1.
แบบประเมินผลการเรียนรู้
เกณฑ์การประเมิน
1.
การประเมินภาคความรู้ ต้องได้คะแนนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80
บันทึกผลหลังการจัดการเรียนรู้
ข้อสรุปหลังการจัดการเรียนรู้
นักเรียนมีคุณธรรมตามที่มุ่งเน้น มีคุณธรรมจริยธรรม ร้อยละ 80
ปัญหาที่พบ
นักเรียนบางคนยังขาดทักษะเรื่องการเขียนโปรแกรมโดยวิธีการสร้างฟังก์ชั่น
แนวทางการแก้ปัญหา
ครูให้นักเรียนทบทวนและฝึกเขียนโปรแกรมเพิ่มเติม
วิชา การเขียนโปรแกรมภาษาซี หน่วยที่ 8
วิชา การเขียนโปรแกรมภาษาซี หน่วยที่ 8
ชื่อหน่วย ตัวแปรชนิดอาร์เรย์และสตริง สัปดาห์ที่ 13-14
ชื่อเรื่อง ตัวแปรชนิดอาร์เรย์และสตริง จำนวน 8 ชั่วโมง
ครูผู้สอน ณัฐพร
หอมเมือง ระดับชั้น ปวส.2
สาระสำคัญ
ตัวแปรประเภทหนึ่งที่ใช้ชื่อตัวแปรชื่อเดียวแต่สามารถเก็บข้อมูลเป็นกลุ่มได้เรียกว่าตัวแปรแบบอาร์เรย์
ถ้าหากประกาศตัวแปรประเภทนี้ขึ้นมาผู้ใช้สามารถเก็บข้อมูลหลายๆค่าติดๆกันไปและสามารถเรียกข้อมูลแต่ละค่าขึ้นมาได้ ตัวแปรแบบอาร์เรย์นี้มีทั้งแบบ 1 มิติ และหลายมิติ
สำหรับตัวแปรสตริงก็คือตัวแปรที่นำตัวอักขระมาต่อกันเป็นอาร์เรย์ประเภทหนึ่ง
สมรรถนะประจำหน่วยการเรียนรู้
แสดงความรู้เกี่ยวกับข้อมูลชนิดอาร์เรย์
ตัวแปรอาร์เรย์ 1 มิติ ตัวแปรอาร์เรย์ 2
มิติ ข้อมูลชนิดสตริง
จุดประสงค์การเรียนรู้
จุดประสงค์ทั่วไป
1.
เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับตัวแปรชนิดอาร์เรย์และสตริง
2.
เพื่อให้สามารถนำความรู้เกี่ยวกับตัวแปรชนิดอาร์เรย์และสตริงไปประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม
3.
เพื่อให้เห็นคุณค่าและความสำคัญของโปรแกรมภาษาซี
จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
1. บอกวิธีการประกาศตัวแปรชนิดอาร์เรย์ได้
2. บอกวิธีการใช้ตัวแปรสตริงได้
3. อธิบายความแตกต่างในการจัดเก็บของตัวแปรธรรมดากับตัวแปรชนิดอาร์เรย์ได้
4. เขียนโปรแกรมด้วยตัวแปรชนิดอาร์เรย์แบบต่างๆได้
สาระการเรียนรู้
1. ข้อมูลชนิออาร์เรย์
2. ตัวแปรอาร์เรย์ 1 มิติ
3. ตัวแปรอาร์เรย์ 2 มิติ
4. ข้อมูลชนิดสตริง
คุณธรรมที่มุ่งเน้น
ความมีคุณธรรมจริยธรรม
กิจกรรมการเรียนรู้ (สัปดาห์ที่
13 ชั่วโมงที่ 49-52)
ขั้นนำ
1.
ครูนำเข้าสู่บทเรียนโดยสนทนากับนักเรียนเกี่ยวกับข่าวการนำเทคโนโลยีในปัจจุบัน
ขั้นกิจกรรม
2.
ครูอธิบายเนื้อหาให้นักเรียน
ขั้นวิเคราะห์
3.
ครูให้นักเรียนทำใบงานที่
8.1 ใช้เวลา 100 นาที
ขั้นสรุปและประเมินผล
4.
ครูให้นักเรียนทุกคนเขียนโปรแกรมตามใบงานที่กำหนดเพื่อทบทวนความรู้ที่ได้เรียนมา
และสรุปวิธีทำลงในสมุดจด
กิจกรรมการเรียนรู้ (สัปดาห์ที่
14 ชั่วโมงที่ 53-56)
ขั้นนำ
1.
ครูนำเข้าสู่บทเรียนโดยนำเสนอผลงานการเขียนโปรแกรมของนักเรียนจากคาบเรียนที่แล้วพร้อมติชมเสนอแนะ
ขั้นกิจกรรม
2.
ครูอธิบายเนื้อหาให้นักเรียนทราบ
ขั้นวิเคราะห์
3.
ครูให้นักเรียนทำใบงานที่
8.2 ใช้เวลา 100 นาที
ขั้นสรุปและประเมินผล
4.
ครูให้นักเรียนทุกคนเขียนโปรแกรมตามใบงานที่กำหนดเพื่อทบทวนความรู้ที่ได้เรียนมา
และสรุปวิธีทำลงในสมุดจด
สื่อการเรียนการสอนและแหล่งการเรียนรู้
1.
คู่มือการเขียนโปรแกรมภาษาซี.
ธีรวัฒน์ ประกอบผล. ซีเอ็ดยูเคชั่น,2552
2.
ฝึกการเขียนโปรแกรมจากรวมโจทย์ข้อสอบภาษาซี. ประภาพร
ช่างไม้. Dev Book, 2549.
3.
แหล่งเรียนรู้ ได้แก่
3.1
ห้องอินเตอร์เน็ต
โรงเรียนกรุงเทพการบัญชีวิทยาลัย
หลักฐานการเรียนรู้
1.
ไฟล์งาน
2.
สมุดจด
การวัดและประเมินผล
เครื่องมือประเมิน
1.
แบบประเมินผลการเรียนรู้
เกณฑ์การประเมิน
1.
การประเมินภาคความรู้
ต้องได้คะแนนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80
บันทึกผลหลังการจัดการเรียนรู้
ข้อสรุปหลังการจัดการเรียนรู้
นักเรียนมีคุณธรรมตามที่มุ่งเน้น มีคุณธรรมจริยธรรม ร้อยละ 80
ปัญหาที่พบ
นักเรียนบางคนยังสับสนเรื่องตัวแปรอาร์เรย์
แนวทางการแก้ปัญหา
ครูทบทวนให้นักเรียนเพิ่มเติม
และฝึกเขียนโปรแกรมให้มากขึ้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น